" 100 วันแรกที่คนไทยไม่อาจลืม " ภาพถ่ายที่มีคุณค่าจากช่างภาพมืออาชีพ
เริงชัย คงเมือง
การเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่พสกนิกรไทยทั่วประเทศ นับว่าเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เรียกได้ว่าค่ำคืนวันที่ 13 ตุลาคมเป็น ‘คืนที่ยากที่สุดในชีวิต’ สำหรับประชาชนชาวไทยเลยทีเดียว
สำหรับคุณเริงชัย คงเมือง หรือ พี่อ้อ ช่างภาพสารคดีอันดับต้นๆของเมืองไทย ได้บันทึกภาพบรรยากาศในช่วง 100 วันแรกหลังการสวรรคตของในหลวง รัชกาลที่ 9 และได้เผยแพร่ผลงานส่วนหนึ่ง ร่วมกับช่างภาพอีก 4 ท่าน ในหนังสือ " 100 วัน เปลี่ยนความโทมนัสเป็นพลัง"
PIXNIQ เราได้รับเกียรติจากพี่อ้อ เริงชัย นำผลงานภาพบางส่วนมาแบ่งปันให้ทุกคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำครั้งนี้

คนขายหนังสือพิมพ์ขนหนังสือพิมพ์มาเร่ขายในที่ที่มีคนจำนวนมากเพื่อให้บางคนเก็บเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศ ในเวลานี้ทุกสำนักข่าวต่างลงข่าวเกี่ยวกับในหลวง

ประชาชนทยอยเข้ายังประตูวิเศษไชยศรี เพื่อสักการะพระบรมศพ ตั้งแต่เช้าตรู่ 14 ธ.ค. 59

04.00 น. ชาวเขาที่เป็นเกษตรกรโครงการหลวงจากหลายจังหวัดทางภาคเหนือกว่า 400 คน เดินทางมาร่วมสักการะพระบรมศพ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 59

พสกนิกรบางคนใช้เวลาเช้าก่อนไปทำงาน แวะมาวางดอกไม้ที่กำแพงพระบรมมหาราชวังด้านฝั่งท่าเตียน ที่จะมองเห็นยอดพระทีนั่งดุสิตมหาปราสาท อันเป็นที่ตั้งพระบรมศพได้ดี และใกล้ชิดกว่าด้านอื่นๆ

พสกนิกรชาวไทยแสดงออกถึงความอาลัยต่อการสวรรคต ด้วยการสวมใส่ชุดดำ และเดินทางมุ่งหน้าสู่ท้องสนามหลวง ไม่เว้นแม้แต่ชายพิการที่ต้องใช้ไม้ค้ำยันแต่ยังมาร่วมพร้อมกับลูกสาวในชุดกระโปรงสีขาว

ประชาชนนำพระบรมฉายาลักษณ์ติดตัวมาร่วมร้องเพลงถวายในหลวง ในงาน "อัครศิลปินเหนือเกล้า" ที่จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดปทุมธานี เครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ ศิลปินพื้นบ้าน สถาบันการศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ข้าราชการและประชาชน เพื่อรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ หออัครศิลปิน อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี โดยกิจกรรมประกอบด้วย การแปรอักษร ข้อความ "อัครศิลปิน” จากนักเรียนโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ ข้าราชการ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน เครือข่ายวัฒนธรรม และประชาชนในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง การขับเพลงแสดงความอาลัยอัครศิลปิน จากศิลปินพื้นบ้าน ๔ ภาค ได้แก่ โนรา ลิเก ขับซอ หมอลำ และการปลูกต้นไม้ถวาย "อัครศิลปินเหนือเกล้า” ๘๙ ต้น

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดปทุมธานี เครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ ศิลปินพื้นบ้าน สถาบันการศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ข้าราชการและประชาชน จึงได้จัดงานรวมใจเครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรม รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ "อัครศิลปินเหนือเกล้า” ณ หออัครศิลปิน อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยกิจกรรมประกอบด้วย การแปรอักษร ข้อความ "อัครศิลปิน” จากนักเรียนโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ ข้าราชการ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน เครือข่ายวัฒนธรรม และประชาชนในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง การขับเพลงแสดงความอาลัยอัครศิลปิน จากศิลปินพื้นบ้าน ๔ ภาค ได้แก่ โนรา ลิเก ขับซอ หมอลำ และการปลูกต้นไม้ถวาย "อัครศิลปินเหนือเกล้า” ๘๙ ต้น

ผู้ต้องขังคนหนึ่งก้มกราบลงบนพื้นดิน ขณะร่วมกับผู้ต้องขังอีก 3,617 คน แปรอักษรแสดงสัญลักษณ์ และขับร้อง 9 บทเพลงถวายพ่อ ซึ่งจัดขึ้นที่ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จ. ปทุมธานี โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ สมพัศ ผู้อำนวยการร่วมขับร้องและเป็นประธาน

ผู้ต้องขัง 3,617 คน ร่วมกันแสดงสัญลักษณ์ และขับร้อง 9 บทเพลงถวายพ่อ ซึ่งจัดขึ้นที่ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จ. ปทุมธานี โดยมีนายณรงค์ศักดิ์ สมพัศ ผู้อำนวยการร่วมขับร้องและเป็นประธาน

ในช่วงเวลาปกติ บริเวณอนุเสาวรย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน จะคับคั่งด้วยรรถยนต์ หรือไม่ก็การชุมนุมทางการเมือง แต่สำหรับช่วงเวลาแห่งความทุกข์โศกนี้ กลับเต็มไปด้วยผู้คนที่สวมใส่ชุดสีดำ และการเดินทางมุ่งไปยังท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ

ประชาชนนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ติดตัวมาจากบ้าน เพื่อรอรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ที่จะเสด็จผ่านบริเวณหน้าวัดพระแก้ว เพื่อร่วมพิธีทางศาสนาในตอนเย็น

เด็กๆ ที่มากับผู้ปกครองสวมใส่เสื้อกันฝน ขณะนำห่อข้าวเหนียวไก่ทอด ที่ได้รับแจกจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ องค์นายกกิติมศักดิ์ตลอดชีพ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ออกมากินท่ามกลางบรรยากาศฝนที่ตกปรอยๆ ทั้งวัน

ประชาชนนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบามสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดชติดตัวมาจากบ้านเพื่อรอรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ที่จะเสด็จผ่านบริเวณหน้าวัดพระแก้วเพื่อร่วมพิธีทางศาสนาในตอนเย็น

ชาวต่างชาติถือดอกไม้ในมือ ขณะเดินทางมาร่วมสักการะพระบรมศพกับภรรยาและเพื่อนเป็นชาวไทย ที่บริเวณหน้าวัดพระแก้ว

รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม “จุฬาฯ เทิด ธ พระภูมิพล” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สวนลุมพินี


นักศึกษาแพทย์ ขณะเข้าแถวรอร่วมงานจุดเทียนถวายอาลัยของ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดกิจกรรม “จุฬาฯ เทิด ธ พระภูมิพล” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สวนลุมพินี

ประชาชนถึงกับหลั่งน้ำตา ขณะร่วมงานจุดเทียนถวายอาลัยของ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดกิจกรรม “จุฬาฯ เทิด ธ พระภูมิพล” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สวนลุมพินี
นอกเหนือจากบรรยากาศความโศกเศร้าของผู้คนที่เดินทางมาสักการะพระบรมศพในกรุงเทพแล้ว พี่อ้อ เริงชัย ก็ได้เดินทางไปเก็บภาพความเป็นอยู่ของชาวเขาในพื้นที่โครงการหลวงในระหว่างนั้นด้วย

จาย ชาวเขาเผ่าดาระอั้ง เกษตรกรโครงการหลวงแห่งบ้านนอแล ขณะเล่าถึงผลผลิตต้นอ่อนถั่วลันเตา ที่พึ่งเก็บเต็มเข่งไม้ไผ่สาน ซึ่งปลูกแซมไปกับแปลงชาในไร่ชาสองพัน ที่ดอยอ่างขาง เพื่อนำไปขายในราคากำละ 10 บาท ขณะที่ผลผลิตใบชาที่เขาปลูกสร้างรายได้ให้มากว่าสองแสนบาทต่อปี
28 ธ.ค. 59

นักท่องเที่ยวถ่ายรูปกับป้ายที่ถูกทำขึ้นง่ายๆ จากวัสดุในท้องถิ่นกลางไร่สตรอเบอรี่บ้านนอแล บนดอยอ่างขาง อันเป็นพื้นที่ทรงงานของในหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขา โดยการเปลี่ยนแปลงไร่ฝิ่นเป็นสวนผักผลไม้เมืองหนาว
28 ธ.ค. 59
นอกจากภาพที่เรานำมาแบ่งปันให้ชมกันนี้แล้ว ยังมีภาพอีกจำนวนมาก ที่สามารถหาอ่านได้จากหนังสือ “๑๐๐ วัน เปลี่ยนความโทมนัสเป็นพลัง” ที่จัดทำโดยสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ดำเนินโครงการแรงบันดาลใจการสร้างเสริมสุขภาวะจากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หรือที่เว็บไซต์ของหน่วยงานเลยครับ